เทคโนโลยีการกำจัดขยะมูลฝอย

เทคโนโลยีการกำจัดขยะมูลฝอย สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระบบใหญ่ คือ

1.ระบบหมักทำปุ๋ย เป็นการย่อยสลายอินทรีย์สารโดยขบวนการทางชีววิทยาของจุลินทรีย์เป็นตัวการย่อยสลายให้แปรสภาพเป็นแร่ธาตุที่มีลักษณะค่อนข้างคงรูป มีสีดำค่อนข้างแห้ง และสามารถใช้ในการปรับปรุงคุณภาพของดิน ขบวนการหมักทำปุ๋ยสามารถแบ่งเป็น 2 ขบวนการ คือขบวนการหมักแบบใช้ออกซิเจน (Aerobic Decomposition) ซึ่งเป็นการสร้างสภาวะที่จุลินทรีย์ชนิดที่ดำรงชีพโดยใช้ออกซิเจนย่อยสารอาหารแล้วเกิดการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และกลายสภาพเป็นแร่ธาตุเป็นขบวนการที่ไม่เกิดก๊าซกลิ่นเหม็น ส่วนอีกขบวนการเป็นขบวนการหมักแบบไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic Decomposition) เป็นการสร้างสภาวะให้เกิดจุลินทรีย์ชนิดที่ดำรงชีพโดยใช้ออกซิเจน เป็นตัวช่วยย่อยสารอาหาร และแปรสภาพกลายเป็นแร่ธาตุขบวนการนี้มักจะเกิดก๊าซที่มีกลิ่นเหม็น เช่น ก๊าซไข่เน่า (Hydrogen Sulfide: H2S) แต่ขบวนการนี้จะมีผลดีที่เกิดก๊าซมีเทน (Methane gas) ซึ่งเป็นก๊าซที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงได้

  2.ระบบการเผาในเตาเผา เป็นการทำลายขยะมูลฝอยด้วยวิธีการเผาทำลายในเตาเผาที่ได้รับการออกแบบก่อสร้างที่ถูกต้องและเหมาะสม โดยต้องให้มีอุณหภูมิในการเผาที่ 850 - 1,200 องศาเซลเซียส เพื่อให้การทำลายที่สมบูรณ์ที่สุด แต่ในการเผามักก่อให้เกิดมลพิษด้านอากาศได้แก่ ฝุ่นขนาดเล็ก ก๊าซพิษต่างๆ เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfer dioxide: SO2) เป็นต้น นอกจากนี้แล้วยังอาจเกิดไดออกซิน (Dioxins) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งและเป็นสารที่กำลังอยู่ในความสนใจของประชาชน ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องมีระบบควบคุมมลพิษทางอากาศและดักมิให้อากาศที่ผ่านปล่องออกสู่บรรยากาศมีค่าเกินกว่าค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศจากเตาเผาที่กำหนด

 3.ระบบฝังกลบอย่างถูกสุขาภิบาล (Sanitary Landfill) เป็นการกำจัดขยะมูลฝอยโดยการนำไปฝังกลบในพื้นที่ที่ได้จัดเตรียมไว้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับการคัดเลือกตามหลักวิชาการทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วิศวกรรม สถาปัตยกรรม และการยินยอมจากประชาชน จากนั้นจึงทำการออกแบบและก่อสร้าง โดยมีการวางมาตรการป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น เช่น การปนเปื้อนของน้ำเสียจากกองขยะมูลฝอยที่เรียกว่า น้ำชะขยะมูลฝอย (Leachate) ซึ่งถือว่าเป็นน้ำเสียที่มีค่าความสกปรกสูงไหลซึมลงสู่ชั้นน้ำใต้ดิน ทำให้คุณภาพน้ำใต้ดินเสื่อมสภาพลงจนส่งผลกระทบต่อประชาชนที่ใช้น้ำเพื่อการอุปโภค และบริโภค  นอกจากนี้ยังต้องมีมาตรการป้องกันน้ำท่วม กลิ่นเหม็น และผลกระทบต่อสภาพภูมิทัศน์ รูปแบบการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล อาจใช้วิธีขุดให้ลึกลงไปในชั้นดินหรือการถมให้สูงขึ้นจากระดับพื้นดิน หรืออาจจะใช้ผสมสองวิธี ซึ่งจะขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศ

 

ข้อพิจารณา

วิธีการกำจัดมูลฝอย

การเผา

การหมักปุ๋ย

การฝังกลบ

1. ด้านเทคนิค
1.1
ความยากง่ายในการดำเนินการและซ่อมบำรุง


ใช้เทคโนโลยีค่อนข้างสูงการเดินเครื่องยุ่งยาก


ใช้เทคโนโลยีสูงพอควร

>
ใช้เทคโนโลยีไม่สูงนัก

 


เจ้าหน้าที่ควบคุมต้องมีความชำนาญสูง


เจ้าหน้าที่ควบคุมต้องมีระดับความรู้สูงพอควร


เจ้าหน้าที่ควบคุมระดับความรู้ธรรมดา

1.2. ประสิทธิภาพในการกำจัด
-
ปริมาณมูลฝอยที่กำจัดได้


ลดปริมาตรได้ 60 - 65% ที่เหลือต้องนำไปฝังกลบ


ลดปริมาตรได้ 30 - 35% ที่เหลือต้องนำไปฝังกลบหรือเผา


สามารถกำจัดได้ 100%

- ความสามารถในการฆ่าเชื้อโรค

กำจัดได้ 100 %

กำจัดได้ 70 %

กำจัดได้เพียงเล็กน้อย

1.3. ความยืดหยุ่นของระบบ


ต่ำหากเกิดปัญหาเครื่องจักรกลชำรุดไม่สามารถปฏิบัติการได้


ต่ำหากเครื่องจักรกลชำรุดไม่สามารถปฏิบัติการได้


สูงแม้ว่าเครื่องจักรกลจะชำรุดยังสามารถกำจัดหรือรอการกำจัดได้

1.4. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

- น้ำผิวดิน



-
ไม่มี



-
อาจมีได้



-
มีความเป็นไปได้สูง

- น้ำใต้ดิน



-
ไม่มี



-
อาจมีได้



-
มีความเป็นไปได้สูง

- อากาศ



-
มี



-
ไม่มี



-
อาจมีได้

- กลิ่น แมลง พาหนะนำโรค



-
ไม่มี



-
อาจมีได้



-
มี

1.5. ลักษณะสมบัติของมูลฝอย


ต้องเป็นสารที่เผาไหม้ได้มีค่าความร้อนไม่ต่ำกว่า 4.500 kl/kg และความชื้นไม่มากกว่า 40%


ต้องเป็นสารที่ย่อยสลายได้มีความชื้น 50 - 70%


รับมูลฝอยได้เกือบทุกประเภท ยกเว้นมูลฝอยติดเชื้อ หรือสารพิษ

1.6. ขนาดที่ดิน


ใช้เนื้อที่น้อย


ใช้เนื้อที่ปานกลาง


ใช้เนื้อที่มาก

2. ด้านเศรษฐกิจ
2.1
เงินลงทุนในการก่อสร้าง

ข้อด้อย
สูงมาก

ข้อด้อย
ค่อนข้างสูง

ข้อดี
ค่อนข้างต่ำ

2.2. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและซ่อมบำรุง


สูง


ค่อนข้างสูง


ค่อนข้างต่ำ

2. 3 ผลพลอยได้จากการกำจัด


ได้พลังงานความร้อนจากการเผา


ปุ๋ยอินทรีย์จากการหมักและพวดโลหะที่แยกก่อนหมัก


ได้ก๊าซมีเทนเป็นเชื้อเพลิง
-
ปรับพื้นที่เป็นสวนสาธารณะ

  หลักเกณฑ์การเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับศูนย์กำจัดขยะมูลฝอย

      ในการพิจารณาพื้นที่ที่มีศักยภาพเป็นสถานที่ตั้งศูนย์กำจัดขยะนั้นจะต้องทราบความต้องการขนาดที่ดินที่จะใช้ และที่ตั้งของท้องถิ่นที่จะเข้าร่วมดำเนินการ โดยอาจจะพิจารณาสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยแห่งเดิมของท้องถิ่นที่มีศักยภาพรองรับ หรือขยายการรองรับขยะมูลฝอยภายในจังหวัดแต่ละแห่ง และอาจจะมีอำนาจศูนย์กำจัด 1-2 แห่ง พร้อมกับจัดให้มีสถานีขนถ่ายตามความจำเป็นและเหมาะสม

      หลักเกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่ที่มีศักยภาพเป็นสถานที่ตั้งศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยชุมชน สามารถใช้เกณฑ์มาตรฐาน และแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนที่กรมควบคุมมลพิษได้จัดทำขึ้นดังนี้

1.เกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่ของสถานีขนถ่ายขยะมูลฝอย และสถานที่นำวัสดุกลับคืน

1.        ไม่ตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ตามมติคณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2538

2.        ตั้งอยู่ห่างแนวเขตโบราณสถาน ตาม พ.ร.บ. โบราณสถานโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติไม่น้อยกว่า 1 กิโลเมตร

3.        ควรตั้งอยู่ห่างจากชุมชนไม่น้อยกว่า 1 กิโลเมตร

2.เกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่ของสถานที่กำจัดโดยเตาเผา และสถานที่หมักทำปุ๋ย

1.        ไม่ตั้งออยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ตามมติคณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2528

2.        ตั้งอยู่ห่างจากแนวเขตโบราณสถาน ตาม พ.ร.บ โบราณสถาน โบราณวัสดุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑ์สดถานแห่งชาติ ไม่น้อยกว่า 1 กิโลเมตร

3.        ควรตั้งอยู่ห่างจากชุมชนไม่น้อยกว่า 2 กิโลเมตร

4.        ที่ตั้งของสถานทีกำจัดโดยเตาเผาควรเป็นที่โล่ง ไม่อยู่ในที่อับลม

3. เกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่ของสถานที่ฝังกลบขยะมูลฝอย

1.        ไม่ตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 ตามมติคณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2528

2.        ตั้งอยู่ห่างจากแนวเขตโบราณสถาน ตาม พ.ร.บ. โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ไม่น้อยกว่า 1 กิโลเมตร

3.        ตั้งอยู่ห่างจากแนวเขตสนามบินไม่น้อยกว่า 5 กิโลเมตร

4.        ควรตั้งอยู่ห่างจากบ่อน้ำดื่ม หรือโรงผลิตน้ำประปาในปัจจุบันไม่น้อยกว่า 700 กิโลเมตร

5.        ควรตั้งอยู่ห่างจากแหล่งน้ำธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้นมารวมทั้งพื้นที่ชุ่มน้ำ (Wetland) ไม่น้อยกว่า 300เมตร ยกเว้นแหล่งน้ำที่ตั้งอยู่ในสถานที่ฝังกลบขยะมูลฝอย

6.        เป็นพื้นที่ซึ่งสภาพธรณีวิทยา หรือลักษณะใต้พื้นดินมั่งคงแข็งแรงพอที่จะรองรับขยะมูลฝอย

7.        ควรเป็นพื้นที่ดอนในกรณีเป็นพื้นที่ลุ่มที่มีโอกาสเกิดน้ำท่วมฉับพลันหรือน้ำป่าไหลหลาก จะต้องมีมาตรการป้องกันแก้ไข

8.        ควรเป็นพื้นที่ซึ่งระดับน้ำใต้ดินอยู่ลึก ในกรณีที่ระดับน้ำใต้ดินอยู่สูงจะต้องมีมาตรการป้องกันแก้ไข

9.        เมื่อพิจารณาคัดเลือกพื้นที่ไว้ได้ 1-3 แห่ง แล้วควรจัดทำประชาพิจารณ์ให้เกิดความยอมรับของประชาชน ก่อนที่จะดำเนินการต่อไป

Make a Free Website with Yola.